ตังกุย (Dong Quai)

ตังกุย (Dong Quai)

ต้นตังกุย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 40-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง ส่วนของเหง้าหรือรากที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบหนาเป็นรูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก ผิวเปลือกรากภายนอกเป็นสีน้ำตาล เนื้อในนิ่ม[1],[8] ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณส่วนของโลกที่อยู่ในระหว่างเขตหนาวกับเขตร้อน ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี และมีความชื้นสูง ต้องการที่ร่มรำไร ชอบอากาศเย็นชื้น โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ใกล้ทางน้ำไหล ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000-9,000 เมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2-3 ปี พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคกลางของประเทศจีน มักขึ้นตามป่าดิบเขา ในปัจจุบันนิยมปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และในประเทศจีน โดยเฉพาะในป่าดิบตามภูเขาสูงของมณฑลเสฉวน ไต้หวัน ส่านซี กุ้ยโจว เหอเป่ย และมณฑลยูนนาน

ตังกุย หรือ โกฐเชียง จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น ของจีน (Angelica sinensis (Oliv.) Diels), ของญี่ปุ่น เรียก ตังกุยญี่ปุ่น หรือ โกฐเชียงญี่ปุ่น (Angelica acutiloba (Siebold & Zucc.) Kitag.) คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคต้นสด, ของอินเดีย (Angelica glauca Edgew.) ที่ชาวอินเดียนิยมใช้เรียกว่า “โจรากา” (Choraka), ของยุโรป (Levisticum officinale W.D.J.Koch) ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพียงแต่ตังกุยของทางยุโรปนั้นจะมีสารสำคัญบางตัวน้อยกว่าตังกุยของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน[1],[8]



Cr.medthai.com

Powered by MakeWebEasy.com